Tk Podcast

Informações:

Synopsis

Episodes

  • Coming To Talk EP.7 ไม่มีพื้นที่ ไม่มีปัญหา เพราะนี่คือ (ห้องสมุด) 'ปันอ่าน'

    15/03/2018 Duration: 51min

    คนเรามีโอกาสไม่เท่ากัน สำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อมีโอกาสแล้ว เราได้แบ่งปันโอกาสเหล่านั้นให้กับผู้อื่นหรือไม่ เช่นเดียวกับ ภราดร ไชยวรศิลป์ ชายผู้หนึ่งซึ่งเมื่อวัยเยาว์เคยขาดโอกาสด้านการอ่านและการเข้าถึงหนังสือ แต่ในวันนี้เมื่อเขาสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้และถือว่าประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจระดับหนึ่ง เขาได้นำเงินส่วนตัวซื้อหนังสือดีๆ นับพันเล่ม และเช่าอาคารเพื่อจัดทำเป็นห้องสมุดเล็กๆ ในเชียงราย โดยไม่คิดค่าบริการ จนเกิดเป็นชุมชน “ปันอ่าน” ที่แลกเปลี่ยนหนังสือและเรื่องราวที่ได้อ่านกันอย่างคึกคัก ปัจจุบัน ภราดร เพิ่งสิ้นสุดสัญญาการเช่าอาคาร ทำให้ห้องสมุดของเขาต้องระงับไปชั่วคราว แต่กลับกลายเป็นว่าวิกฤติที่ผ่านเข้ามา เป็นโอกาสให้เขาเรียนรู้ว่า “ไม่ต้องมีห้องสมุดก็ได้” และนั่นทำให้งานส่งเสริมการอ่านของเขายิ่งขยายออกไปและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นกว่าเดิม!

  • TKFORUM EP.10 Education of equitable quality

    08/03/2018 Duration: 51min

    เมื่อกล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับการอ่าน หลายประเทศมักให้ความสำคัญกับปริมาณการอ่าน เช่นเด็กยังมีหนังสือไม่เพียงพอ แต่มักไม่ได้มองเรื่องความเข้าใจที่เด็กจะได้รับจากการอ่านเท่าใดนัก แท้ที่จริงแล้วการอ่าน ไม่ใช่เพียงการอ่านออก แต่เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนรวมไปถึงระดับความสามารถในการคิด การวิเคราะห์ และการตีความ ดังนั้นเป้าหมายสูงสุดของการอ่านก็คือ การเข้าใจในความหมายของสิ่งที่อ่าน ดร.ธีร์ จินกราน ผู้ประสานงานด้านสิทธิการศึกษา ภายใต้คณะกรรมการแห่งชาติด้านการพิทักษ์สิทธิเด็ก ประเทศอินเดีย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการอ่านออก ว่ามีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน และยิ่งเด็กโตขึ้น เด็กที่อ่านออกอ่านคล่องก็จะยิ่งเข้าใจสิ่งที่อ่านมากยิ่งขึ้น ในขณะที่เด็กที่อ่านหนังสือได้ไม่แตกฉาน เมื่อโตขึ้นก็จะยิ่งเข้าใจในสิ่งที่อ่านได้น้อยกว่าเด็กที่อ่านคล่องมากขึ้นไปเรื่อยๆ นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงควรจะปลูกฝังเรื่องการอ่านที่มีคุณภาพตั้งแต่วัยเด็ก

  • Coming To Talk EP.6 เคล็ดลับปรับโฉมห้องสมุดสไตล์มอดินแดง

    28/02/2018 Duration: 01h20s

    ให้เรียกแค่ “ผู้หญิงเก่ง” เพียงอย่างเดียวคงไม่พอสำหรับ ดร.วนิดา แก่นอากาศ รองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น แต่ต้องเรียกว่าเธอคือ “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” (Change Leader) ด้วย จึงจะถูกต้อง บทบาทในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหอสมุด สร้างการเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่งให้เกิดขึ้นกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งนี้ อาจารย์วนิดาได้แบ่งปันประสบการณ์ดังกล่าว โดยเผยเคล็ดลับอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ การกำหนดทิศทางและสร้างความรับรู้ต่อเป้าหมายที่จะก้าวเดินไปให้เพื่อนร่วมงานเข้าใจร่วมกัน การทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง การนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการตามความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด การปรับเปลี่ยนบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ที่สำคัญคือการมองปัญหาหรืออุปสรรคเป็นสิ่งท้าทาย และเปลี่ยนให้เป็นโอกาสที่เป็นไปได้ โดยไม่นำปัญหามาเป็นตัวตั้งในการคิดริเริ่มหรือบุกเบิกงานใหม่ๆ ผลลัพธ์จากการทำงานหนักและเต็มไปด้วย passion ของผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่คิดใหญ่และเต็มไปด้วยพลังงานเหลือเฟือ คือการแปลงโฉมห้องสมุดมหาวิทยาลัย จนส่งผลให้นักศึกษาเข้ามาใช้ห้องสมุดเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ นอกจากนั้นยังเกิดนวัตกรรมในกระบวนการทำงานและนวัตกรรมการบริการที

  • Coming To Talk EP.5 แซะวิธีคิด คนพิพิธภัณฑ์ ทำนิทรรศการอย่างไรให้ปัง!

    21/02/2018 Duration: 51min

    ไม่เพียงแต่ห้องสมุดที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่พื้นที่การเรียนรู้ยุคใหม่ พิพิธภัณฑ์ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีพลวัตเกิดขึ้นมากมายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่นมิวเซียมสยามที่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหานิทรรศการชุดใหม่ ด้วยแนวคิด “ถอดรหัสไทย” ที่ชวนตั้งคำถามว่า ความเป็นไทยถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร และแต่ละยุคสมัยถูกนำไปใช้อย่างไร รวมทั้งนำเสนอความเป็นไทยที่สอดแทรกอยู่ในบริบทของชีวิตประจำวัน เบื้องหลังกว่าจะเป็นนิทรรศการชุดนี้ มีการเคี่ยวกรำแนวคิดและเนื้อหานานหลายปี มีกระบวนการเก็บข้อมูลด้วยความละเอียดลออ ซึ่งทั้งสนุกและสามารถเป็นบทเรียนให้กับผู้ที่สนใจงานด้านมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

  • Coming To Talk EP.4 ครูมะนาวเปิดอก ถกเรื่องครูไทย ทำไม ‘อะไรอะไรก็ครู’

    15/02/2018 Duration: 01h13min

    บ่อยครั้งที่สังคมมักได้ยินเรื่องราวความทุกข์ของครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปัญหาเกิดจากภาระงาน เฟสบุ๊คแฟนเพจ ‘อะไรอะไรก็ครู’ เป็นช่องทางหนึ่งที่ครูไทยใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมทั้งระบายความรู้สึกและปัญหาที่อยากหาทางออก โดยมี ศุภวัจน์ พรมตัน หรือ ครูมะนาว ครูพันธุ์ใหม่ผู้ริเริ่มเพจนี้เป็นผู้เฝ้าสังเกตทุกข์สุขของครูผ่านปฏิสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ เสียงสะท้อนจากจุดเล็กๆ ของคนในวิชาชีพครู อาจทำให้เรามองเห็นถึงปัญหาซึ่งใหญ่กว่าและยังคงอยู่ในระบบการศึกษาไทย แล้วจะไม่แปลกใจว่า... คนเป็นครูนั้นเป็นอะไรอะไรที่มากกว่าครู!

  • TKFORUM EP.9 Social And Cognitive Benefits Of Lifelong Reading

    08/02/2018 Duration: 01h16min

    การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่ระดับปฐมวัยเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเยาวชน เพราะทักษะการอ่านมีผลอย่างยิ่งต่อศักยภาพในการเรียนรู้เมื่อเด็กๆ เติบโตขึ้น ปัจจุบันพฤติกรรมการอ่านของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไปมากจากอิทธิพลของสื่อดิจิทัล จนเกิดข้อกังขาว่าเยาวชนควรอ่านหนังสือหรือเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่ากัน Mr. N Varaprasad ชี้ให้เห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดหาใช่รูปแบบของการอ่าน และเราไม่สามารถยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ แต่ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของเนื้อหา นอกจากนี้ ยังมองถึงการขยายตลาดหนังสือของประชาคมอาเซียน ซึ่งหากมีการขยายขอบข่ายเนื้อหาให้กว้างไกลไปกว่าเรื่องราวจำเพาะของแต่ละประเทศ ย่อมจะให้ให้ตลาดหนังสือในภูมิภาคเกิดความตื่นตัวและเอื้อต่อการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน

  • Coming To Talk EP.3 กระตุกต่อมวิทย์ คิดด้วยเหตุผล และอย่าด่วนสรุป!

    28/01/2018 Duration: 01h18min

    ทฤษฎีความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมานับตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการที่วิทยาศาสตร์ก้าวเข้ามามีอำนาจนำเหนือความคิดและวิธีวิทยาอื่น แต่ก็ใช่ว่ามนุษย์นั้นจะรักในความรู้และมีเหตุมีผลกันถ้วนทั่วทุกคน ยิ่งในภาวะที่ข่าวสารสารสนเทศท่วมท้นจนแยกแยะจริงเท็จได้ยากดังเช่นปัจจุบัน ปัญหาและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากความเชื่อที่ไร้เหตุผลและไม่เป็นวิทยาศาสตร์จึงเกิดขึ้นและมีอยู่อย่างต่อเนื่องในสังคมซึ่งความคิดแบบวิทยาศาสตร์ยังอ่อนแอ จำต้องมีนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ช่วยไขข้อข้องใจและอธิบายเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่าย ด้วยความรู้ ข้อมูล และตรรกะเหตุผล

  • readWORLD EP.13 เปลี่ยนห้องสมุดให้เป็นพื้นที่สร้างนวัตกรรม

    18/01/2018 Duration: 28min

    จริงหรือ ที่ห้องสมุดกำลังจะถึงกาลอวสาน เมื่อคนรุ่นใหม่อ่านหนังสือน้อยลงและสื่อดิจิทัลขยายตัวอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนหลายพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้นอกชั้นเรียนของเยาวชน และพฤติกรรมการใช้สารสนเทศออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ แล้วแห่งเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงบทบาท จากการให้บริการด้านหนังสือและสารสนเทศแต่เพียงอย่างเดียว หันมาจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี เตรียมความพร้อมด้านการทำงานและการศึกษาต่อ รวมทั้งสนับสนุนด้านนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ ดังกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลก

  • TKFORUM EP.8 Futures and the Library: emerging issues, scenarios and visions of the changing library

    11/01/2018 Duration: 01h01min

    กระบวนการคาดการณ์อนาคต (foresight) เกี่ยวกับอนาคตห้องสมุด ซึ่งพบว่ามีเรื่องเล่าที่น่าสนใจอย่างน้อย 4 รูปแบบ หนึ่ง ไดโนเสาร์ดิจิทัล คือห้องสมุดที่พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง แต่วิธีคิดของบรรณารักษ์ยังไม่เปลี่ยน สอง ห้องสมุดที่เปลี่ยนมาเป็นพื้นที่สำหรับการสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้แบบเสมือนจริง โดยเทคโนโลยีและเครื่องมือสมัยใหม่ที่สามารถดาวน์โหลดความรู้ผ่านการรับรู้ของประสาทสัมผัสและสมอง สาม ห้องสมุดที่ปรับตัวเป็นสำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์ โดยใช้ความน่าเชื่อถือของความเป็นห้องสมุดและเครือข่ายความสัมพันธ์ที่มีกับผู้ใช้จำนวนมหาศาลมาอย่างยาวนาน ทำให้กลายเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ความรู้และจัดพิมพ์งานเขียนใหม่ๆ ที่มีคุณภาพจำนวนมาก และ สี่ ห้องสมุดในฐานะศูนย์บริการครบวงจร มีความรู้หลากหลายให้เลือกค้นหาและเรียนรู้ เป็นสถานที่ของการร่วมสร้าง (co-creation) ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับให้ผู้คนเข้ามาเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ โดยบรรณารักษ์เป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำการใช้งาน

  • readWORLD EP.12 เอะอะก็จะถอดบทเรียน! ถอดอะไร? ถอดยังไง?

    28/12/2017 Duration: 01h05s

    การแก้ไขปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าต้องใช้ “ปัญญา” เป็นสำคัญ แต่การจะได้มาซึ่งปัญญาด้วยการรอผลจากการวิจัยหรือใช้ทฤษฎีที่มีอยู่ก็อาจไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เร็วและแรงมากดังเช่นในปัจจุบัน เราจึงต้องอาศัยการถอดบทเรียนและการจัดการความรู้เข้ามาช่วย นั่นคือการเรียนรู้จากความรู้ที่เรามีอยู่เดิมหรือเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต และนำเอาการเรียนรู้นั้นมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้เป็นเสมือน 2 หน้าของเหรียญเดียวกัน เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจนิยามความหมาย ขั้นตอนกระบวนการ วงจรโครงการกับการเรียนรู้เพื่อถอดบทเรียน และวิธีวิทยาในการถอดบทเรียน 4 รูปแบบ มีคนจำนวนไม่น้อยที่พร่ำพูด “คำ” ซึ่งดูเหมือนจะช่วยเสริมส่งให้ผู้พูดดูดีมีสมอง แต่กลับไม่มีความเข้าใจและมิได้ใส่ใจจริงจังกับความรู้และการถอดบทเรียน สุดท้ายก็ไปไม่ถึงผลลัพธ์ของการจัดการความรู้ สูญเสียทั้งเวลาและทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้น หากได้ทำความเข้าใจเรื่องนี้โดยกระจ่างแล้ว จะได้เลิกถอดบทเรียนกันแบบพร่ำเพรื่อ ตะพึดตะพือ หลงทิศผิดทาง เพราะการตระหนักถึงการถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ด้วยความเข้

  • Coming To Talk EP.2 ออกแบบชีวิต ด้วยการคิดเชิงออกแบบ

    21/12/2017 Duration: 01h38min

    ความแตกต่างคือจุดเริ่มต้นของความสร้างสรรค์ แต่การคิดนอกกรอบหรือเลือกเดินตามแนวทางที่ลิขิตขึ้นเองก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แตว - วิริยา วิจิตรวาทการ ได้นำ ‘การคิดเชิงออกแบบ’ หรือ Design Thinking มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการแสวงหาชีวิตที่มีความหมาย เติมเต็มคุณค่าของชีวิต และพยายามสร้างโลกใบใหม่ที่ดีกว่าในแบบที่เธอพึงพอใจ จนกระทั่งในวันนี้เธอได้มีส่วนร่วมและทำงานเพื่อแก้ปัญหาสังคมโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนทำงานด้านนวัตกรรมและการแก้ไขปัญหา

  • TKFORUM EP.7 Literacy Is Not Enough

    17/12/2017 Duration: 01h10min

    วิธีการสอนแบบเดิมๆ ไม่สามารถที่จะพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ให้เกิดขึ้นอย่างคล่องแคล่วจนกลายเป็นนิสัยและวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เพราะการศึกษาแบบเก่ามัวใส่ใจแต่การสอนเพื่อให้เด็กทำข้อสอบ ซึ่งสุดท้ายแล้ว ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำใด้เด็กเห็นความเชื่อมโยงระหว่างความรู้นั้นกับชีวิตของตนเอง ทั้งนี้การเรียนรูปแบบเก่าๆ ทำให้เด็กจดจำได้เพียง 15% ส่วนการเรียนรูปแบบใหม่ทำให้เด็กจดจำได้ถึง 70% โดยเป็นความจำที่ลึกซึ้งและถูกนำกลับมาใช้งานได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก

  • Understanding the Digital Generation: Strategies for Teaching Digital Learners in Today’s Classrooms

    07/12/2017 Duration: 01h02min

    โลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนกลับด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยี เด็กรุ่นใหม่ที่เกิดมาเริ่มมีการทำงานของระบบประสาท การเรียนรู้ และการจดจำสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนคนรุ่นเรา จึงเป็นเรื่องท้าทายคนรุ่นเก่าที่จะทำความเข้าใจเด็กรุ่นนี้ และเป็นไปไม่ได้อีกแล้วที่การเรียนการสอนด้วยวิธีเดิมๆ จะถูกนำมาใช้แล้วให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอน วิธีการวัดและประเมินผล และการวางยุทธศาสตร์เพื่อชนยุคดิจิทัล เราทุกคนล้วนมีจุดบอดในการรับรู้ (Blindness Perspective) คือมีสิ่งที่ไม่อาจมองเห็นแม้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่อย่างชัดเจน ในขณะที่เรากำลังเพ่งจ้องอยู่กับสิ่งสิ่งอื่น ผู้เรียนทุกวันนี้เขามองโลกแตกต่างออกไปจากเราจริงๆ ถ้าเรายังมัวแต่เอาเป็นเอาตายกับหลักสูตร การสอบ หรือการเลื่อนชั้น เราอาจจะพลาดที่จะมองเห็นบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญซึ่งกำลังเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัลก็เป็นได้

  • readWORLD EP.11 แกะรอย NLB Labs กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมห้องสมุดสิงคโปร์

    28/11/2017 Duration: 44min

    จุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์นวัตกรรมห้องสมุดของสิงคโปร์ มาจากการก่อตั้งหน่วยงานสนับสนุนงานด้านการพัฒนานวัตกรรมห้องสมุดขึ้นโดยเฉพาะ เรียกชื่อว่า NLB Labs โดยมีศูนย์นวัตกรรมห้องสมุด (Library Innovation Centre - LIC) ทำหน้าที่สร้างต้นแบบและพิสูจน์สมมุติฐานก่อนที่จะนำมาปรับใช้จริงกับห้องสมุดในสิงคโปร์ ส่งผลให้ภายในระยะเวลาประมาณ 20 ปี ห้องสมุดสิงคโปร์เปลี่ยนสภาพจากห้องสมุดล้าสมัย ใช้แรงงานคนเป็นหลัก และให้บริการประชาชนได้ไม่ทั่วถึง ปัจจุบันกลายมาเป็นห้องสมุดที่มีมาตรฐานสากลระดับแนวหน้าของโลก

  • Coming To Talk EP.1 ความล้มเหลวของ "หมู Ookbee" บทเรียนจากความย่อยยับที่อยากแบ่งปัน

    20/11/2017 Duration: 36min

    ถ้าลงทุนทำธุรกิจไป 150 ล้าน แล้วเจ๊งยับใน 18 เดือน! คุณจะท้อแท้สิ้นหวัง หยุดฝัน หรือสรุปหาบทเรียนแล้วลุกขึ้นเดินหน้าต่อ? หมู - ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัทอุ๊คบี (Ookbee) ไม่อายที่จะบอกเล่าถึงความความล้มเหลวในการทำธุรกิจ เพราะมองว่าความผิดพลาดล้มเหลวที่ผ่านมาคือประสบการณ์อันแสนล้ำค่าที่อยากแบ่งปันให้คนอื่นรับรู้ เพื่อจะได้เป็นแรงผลักดันให้สตาร์ทอัพรุ่นใหม่เดินหน้าลงมือทำตามความคิดที่เชื่อ โดยก้าวข้ามอุปสรรคสำคัญซึ่งคอยรบกวนอยู่ภายในจิตใจของนักเริ่มต้นทุกราย

  • readWORLD EP.10 แนะนำหนังสือ inGenius ...ความล้มเหลวคือก้าวแรกของความสร้างสรรค์

    12/11/2017 Duration: 15min

    หนังสือ “วิชาความคิดที่คุ้มค่าหน่วยกิตที่สุดในโลก” หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า “inGenius” ของ Tina Seelig บอกเล่าถึงห้องเรียนที่สุดแสนมหัศจรรย์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พร้อมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของผู้คนและผู้ประกอบการทั่วโลก ที่เติบโตขึ้นจากความกล้าที่จะคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น หัวใจสำคัญของกระบวนการสอนความคิดสร้างสรรค์ก็คือ การให้นักศึกษารู้จักเผชิญหน้ากับความเสี่ยง ลองล้มเหลวอย่างรวดเร็ว และเรียนรู้จากประสบการณ์ สอนให้รู้จักการใช้เครื่องมือโดยตั้งสมมุติฐานที่ท้าทาย เพื่อจะได้ลองผสมผสานไอเดียหรือปรับมุมมองต่อปัญหา รวมทั้งสอนให้รู้จักที่จะตั้งคำถามที่ถูกต้อง เพราะคำถามที่ผิดจะไม่มีวันนำไปสู่คำตอบที่ถูก

  • TKFORUM EP.5 วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์

    30/10/2017 Duration: 53min

    วัฒนธรรมความรู้ของอุษาคเนย์มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ทั้งการสื่อสารโดยมุขปาฐะ เช่น เรื่องเล่า นิทาน การแสดง การขับลำนำ และการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้ที่มีการศึกษาและมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดกับวัง ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการพิมพ์เข้ามาในศตวรรษที่ 19 เป็นการเปลี่ยนโลกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยการพิมพ์หนังสือเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยหมอบรัดเลย์ หนังสือคือหน้าต่างที่เปิดเผยความเป็นมนุษย์ การศึกษาเรื่องราวของหนังสือจะต้องคำนึงถึงบริบทของหนังสือด้วย เราไม่ได้อ่านหนังสือแต่เพียงอย่างเดียว แต่เราจะต้องอ่านบริบทของหนังสือที่เราอ่านด้วย จึงจะเข้าใจสิ่งที่หนังสือเขียนอย่างถ่องแท้ หนังสือเกิดขึ้นจากบริบทของสังคม ในอีกด้านหนึ่งหนังสือก็มีส่วนในการขับเคลื่อนสังคมด้วยเช่นกัน

  • readWORLD EP.9 10 ภาวะผู้นำ 4 รูปแบบห้องสมุด: หลักสูตรที่วิชาบรรณารักษ์ไม่ได้สอน

    19/10/2017 Duration: 32min

    การบริหารจัดการและรูปแบบภาวะผู้นำ เป็นสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนโอกาสให้นวัตกรรมเติบโตและงอกงาม ผู้นำหรือผู้บริหารห้องสมุดจะต้องปลดปล่อยพรสวรรค์ของบุคลากร พร้อมกับควบคุมพรสวรรค์ที่หลากหลายเหล่านั้นให้สอดประสานกันจนเกิดผลงานที่เป็นประโยชน์ คิมเบอร์ลี่ แมทธิวส์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องสมุดประชาชนไมอามี่-เด๊ด สหรัฐอเมริกา มีแนวคิดว่าการสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมจำเป็นต้องมีผู้นำที่ยิ่งใหญ่ และสรุปคุณสมบัติของผู้นำที่ยิ่งใหญ่ไว้ 10 ประการ ทั้งนี้ การส่งเสริมนวัตกรรมในห้องสมุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจถึงจุดที่องค์กรยืนอยู่ว่าเป็นองค์กรประเภทไหน ซึ่งคิมเบอร์ลี่แบ่งประเภทห้องสมุดออกเป็น 4 ประเภท

  • TKFORUM EP.4 นิสัยการอ่านของคนไทย ในมิติด้านวัฒนธรรม

    11/10/2017 Duration: 26min

    ศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิเคราะห์วัฒนธรรมการอ่านของไทย ว่าแท้จริงแล้วสังคมไทยไม่ใช่สังคมที่ใช้ตัวอักษรหรือใช้ตัวหนังสือมากนัก แต่ถ่ายทอดเรื่องราวและความงดงามทางภาผ่านวัฒนธรรมแบบมุขปาฐะ ซึ่งเป็นวิถีที่เน้นการใช้ความจำโดยไม่จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาการอ่านมากนัก ดังนั้นเนื้อแท้ของคนไทยจึงไม่ใช่ชาตินักอ่าน เมื่อกล่าวถึงประเด็นการอ่านในปัจจุบันจึงอาจมีความหมายแตกต่างจากการอ่านของคนในสมัยก่อน อนึ่ง การส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านจำเป็นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอย่างน้อย 2 ประการคือ การสร้างทัศนคติด้านการอ่านให้เป็นเรื่องของการหาความสุขและความเพลิดเพลิน มิใช่เรื่องที่ต้องเคร่งเครียดหรือมุ่งประโยชน์ด้านความรู้เพียงอย่างเดียว และจำเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาควบคู่กันไป

  • readWORLD EP.8 ชำแหละการศึกษาจีน

    02/10/2017 Duration: 16min

    ไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนได้ขึ้นแท่นมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลก ทั้งยังทำสถิติครองอันดับหนึ่งในการสอบโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) ทั้ง 3 วิชา ทำให้หลายชาติหันมามองหาบทเรียนแห่งความสำเร็จจากจีน ทว่า ศาสตราจารย์หย่ง เจ้า จากมหาวิทยาลัยโอเรกอน กลับกระเทาะมายาคติว่าด้วยความสำเร็จทางการศึกษาจีน ซึ่งมีทั้งด้านที่ดีที่สุดและเลวที่สุด ไว้ในหนังสือ 2 เล่ม คือ ผู้เรียนที่มีความเป็นสากล (World Class Learners: Educating Creative and Entrepreneurial Students) และ ใครกันจะกลัวมังกรร้ายตัวเบิ้ม (Who's Afraid of the Big Bad Dragon?: Why China Has the Best (and Worst) Education System in the World)

page 13 from 14