Day Poets

Informações:

Synopsis

Podcast Day Poets

Episodes

  • b-holder EP23: ว่าด้วยกฎมณเฑียรบาล และการสืบราชสันตติวงศ์ในราชวงศ์ไทย

    01/01/2023 Duration: 35min

    ในประวัติศาสตร์ไทย การสืบราชสันตติวงศ์เป็นเรื่องวุ่นวาย ในสมัยอยุธยานั้น การไม่กำหนดกฏเกณฑ์ อาศัยเพียงพระราชอำนาจและขุมกำลังว่าฝ่ายใดเหนือกว่า เป็นต้นเหตุของการล้มราชวงศ์อยู่หลายครั้ง และปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นต้นเหตุให้อาณาจักรเกิดความระส่ำระสายทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ผลัดแผ่นดิน ครั้นถึงสมัยในหลวง รัชกาลที่ 5 เริ่มมีพัฒนาการ คือใช้วิธีการตั้งมกุฎราชกุมาร โดยวัดจาก ‘แม่’ เป็นหลัก ขณะที่สมัยรัชกาลที่ 6 มีพัฒนาการไปอีกขั้น คือเริ่มมี ‘กฎมณเฑียรบาล’ เพื่อควบคุมการสืบราชสมบัติ แต่ด้วยกฎมณเฑียรบาลอย่างเดียวอาจจะไม่พอที่ทำให้สาย ‘มหิดล’ สามารถสืบราชสมบัติได้ หากปราศจากอำนาจทางการเมืองในยุคคณะราษฎร b-holder ตอนนี้ พาไปดูพัฒนาการและประวัติศาสตร์ว่าด้วยการสืบราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต

  • b-holder EP22: การเมืองไทยในปี 2022 โดดเดี่ยว อลเวง และช็อตฟีล

    18/12/2022 Duration: 35min

    หากจำกัดความสถานการณ์การเมืองไทยในปี 2022 คงอยู่ภายใต้ 3 คำ โดดเดี่ยว - ด้วยสถานะของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในรอบปีที่ 8 ที่ไม่ได้มี ‘อำนาจเต็ม’ อยู่ในมือ และต้องต่อรองกับบรรดา ส.ส. มองอย่างไรก็หนีไม่พ้นคำนี้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบหลัง คะแนนของพลเอกประยุทธ์ยังอยู่ในระดับ ‘รองบ๊วย’ น้อยกว่ารัฐมนตรีและรองนายกฯ หลายคน อลเวง - สภาวะสุญญากาศ หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน ‘พักงาน’ พลเอกประยุทธ์ ได้ทำให้ดุลอำนาจหลายอย่างเปลี่ยนไปในห้วงเวลาสั้นๆ อำนาจของพลเอกประยุทธ์ไม่ได้มีมากเหมือนเดิม และการ ‘ดิ้น’ หาบ้านใหม่ของ ส.ส. จนกลายเป็นพรรคภูมิใจไทยที่เก็บตก ส.ส. ได้มากที่สุด ย่อมส่งผลสะท้อนต่ออำนาจทหารที่ไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนเดิมอีกต่อไป ช็อตฟีล - ชัยชนะระดับ ‘แลนด์สไลด์’ ของฝั่งตรงข้ามรัฐบาล ไม่ว่าจะสนามการเลือกตั้งซ่อมนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สนามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สนามเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพ และสนามเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดถึงมาก่อน ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งตลอดปีผ่านมาสั่นคลอน 3 ป. จนอ่อนปวกเปียก และที่สำคัญคือการตัดสินใจ ‘แยกทาง’ กันระหว่าง 2 ป. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

  • Ways of Being Wild EP14: Grotesque of Thai literature วรรณกรรมไทยกับเรื่องราวสุดพิลึก

    11/12/2022 Duration: 29min

    Ways of Being Wilds EP.14 ขอชวนคุณผู้ฟังมาร่วมส่งท้ายปี 2565 กับวรรณคดีไทยเนื้อหาสุดพิลึก ที่บางเรื่องแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้ประพันธ์ขึ้นมาได้ เหตุใดวรรณกรรมเหล่านี้แทบไม่หลงเหลืออยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย และวรรณกรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงบริบทสังคมไทยในช่วงเวลานั้นอย่างไรบ้าง ขอเชิญมาหาคำตอบไปพร้อมกัน

  • b-holder EP21: เจ้าดารารัศมี ‘เจ้า’ เชียงใหม่ ผู้เชื่อมล้านนาและสยามเข้าด้วยกัน

    04/12/2022 Duration: 37min

    หากพูดถึงบรรดาบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ‘เจ้าดารารัศมี’ คือหนึ่งในนั้น ผ่านมาร้อยกว่าปี เรื่องที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรง ‘ขอตัว’ เจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าเมืองเชียงใหม่มาแต่งงานในกรุงเทพฯ ยังเป็นประวัติศาสตร์อันลือลั่น เรื่องราวที่เล่าต่อกันภายหลัง มีทั้งในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงรับเลี้ยงเจ้าดารารัศมี เพื่อไม่ให้ควีนวิกตอเรียขออังกฤษขอเป็นลูกบุญธรรม มีทั้งการบังคับแต่งงานเพื่อรวบรวมสยามให้เป็นปึกแผ่น ไม่ให้ล้านนาแข็งข้อ และอีกนัยหนึ่งก็เป็นความต้องการของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในการผูกมิตรกับสยามที่มีอำนาจเหนือกว่า เป็นการเมืองภายในที่ต้องการจัดการกับ ‘ญาติ’ ของตัวเอง ที่กำลังแย่งอำนาจกับวุ่นวาย และอีกนัยหนึ่ง ประวัติศาสตร์ว่าด้วยเจ้าดารารัศมีก็เป็นประวัติศาสตร์ที่เพิ่งรื้อฟื้น การทรงไปเป็น ‘ตัวประกัน’ ตั้งแต่อายุ 13 ไม่ได้สวยหรูขนาดนั้น และต้องเผชิญหน้ากับคำนินทาดูถูกมากมาย หลังจากสิ้นพระชนม์ไปแล้วหลายสิบปี เรื่องของ ‘เจ้าดาราฯ’ เพิ่งถูกกลับมาเล่าใหม่ ตีความใหม่อีกครั่ง เพื่อเชื่อมความเป็นท้องถิ่นนิยมในเชียงใหม่ และความภักดีในราชวงศ์จักรีเข้าไว้ด้วยกัน b-holder EP นี้ยังอยู่ที่เชียงใหม่ เพื่อค้นหาความหมายใน

  • Ways of Being Wild EP13: สี จิ้นผิง กับการกุมอำนาจสาธารณรัฐประชาชนจีนแบบเบ็ดเสร็จ

    27/11/2022 Duration: 35min

    สถานการณ์การเมืองล่าสุดของประเทศจีนหลังจาก ‘สี จิ้นผิง’ (Xi Jinping) ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนติดต่อกันเป็นสมัยที่ 3 ภายในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 20 แบบเต็มคณะครั้งแรก ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16-22 ตุลาคม 2022 ณ หอประชุมประชาชน กรุงปักกิ่ง หมายความว่าประธานาธิบดีสีจะยังคงรักษาตำแหน่งผู้มีอำนาจสูงสุดบนแผนดินมังกรต่อไปเป็นวาระที่ 3 อีกอย่างน้อย 5 ปี แม้จะมีวัยแตะหลักเกษียณราชการแล้วก็ตาม นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวทางคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Communist Party of China: CCP) ยังมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้ สี จิ้นผิง ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง (Central Military Commission) รวมถึงมีการแต่งตั้ง 7 คณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมืองชุดใหม่ (Politburo) ที่มีสี จิ้นผิง เป็นหนึ่งในนั้น อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ สุนทรพจน์ความยาว 104 นาที ที่เกี่ยวโยงถึงนโยบายการปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนในอนาคต โดยมีใจความสำคัญทั้งหมด 5 ข้อ คือ 1. จุดยืนต่อไต้หวันและฮ่องกงที่เน้นเป็นไปอย่าง ‘สันติ’ แต่พร้อมใช้ ‘กำลัง’ หากจำเป็น ดั่งเช่นการกวาดล้างเหล่า

  • b-holder EP20: ครูบาศรีวิชัย จากนักบุญล้านนา สู่ ‘ศัตรู’ ของรัฐไทย

    23/11/2022 Duration: 31min

    หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ สมัย ‘ล้านนา’ ยังไม่อยู่ภายใต้สยาม ครูบาศรีวิชัยน่าจะเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ด้วยชื่อเสียงของการเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา ผู้ซ่อมแซมวัดวาอารามหลักหลายร้อยวัด และด้วยแรงศรัทธา ซึ่งสามารถรวมทั้งพระสงฆ์และฆราวาส จนสามารถดูแลวัด สร้างวัด กระทั่งสร้างถนนหนทางในจำนวนมหาศาลขนาดนั้นได้ทั่วภาคเหนือ แรงศรัทธาของผู้คนมหาศาลได้ผลักให้ครูบาศรีวิชัยกลายเป็นศัตรูของผู้มีอำนาจหลายครั้งหลายครา ไม่ว่าจะยุคที่สยามยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช สยามต้องการผนวกรวมอาณาจักรล้านนาให้กลายเป็นสยามหนึ่งเดียวภายใต้พระมหากษัตริย์ที่อยู่ในกรุงเทพฯ หรือสยามในยุค ‘ประชาธิปไตย’ ที่ต้องการคำตอบแน่ชัดว่า ‘พระสงฆ์’ รูปนี้อยู่ข้างไหนกันแน่ อยู่ข้าง ‘เจ้า’ ที่เพิ่งถูกยึดอำนาจ หรืออยู่ข้างคณะราษฎร ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ เรื่องราวของครูบาศรีวิชัยเป็นทั้งเรื่องการ ‘ต่อสู้’ ภายในอาณาจักรล้านนา เป็นทั้งเรื่องการต่อต้านอำนาจรัฐ และอาจเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมรัฐไทยถึงได้กลัวการ ‘กระจายอำนาจ’ มากนัก จนเป็นเหตุให้ในที่สุดการกระจายจึงไปไม่ถึงฝั่งฝันเสียที

  • b-holder EP19: สังหาร 4 รัฐมนตรี หักหลัง - ล้างขั้ว ย้อนอดีตคดีสุดโหด

    08/11/2022 Duration: 31min

    จำลอง ดาวเรือง, ถวิล อุดล, ทองเปลว ชลภูมิ และ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ คือชื่อของ 4 อดีตรัฐมนตรี คนสนิทของ ปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกสังหารโหดริมถนนพหลโยธินในช่วงกลางดึกวันที่ 4 มีนาคม 2492 เป็นการสังหารในระหว่างที่ตำรวจกำลังควบคุมตัวคนเหล่านี้ไปไว้ยัง ‘ที่ปลอดภัย’ พอดิบพอดี เรื่องเล่าจากทางการระบุว่าในระหว่างการเคลื่อนย้ายทั้ง 4 ราย เกิดมีโจรมลายูบุกชิงตัว และเกิดยิงทั้ง 4 เสียชีวิต โดยที่ตำรวจพยายามยิงต่อสู้แล้วไม่เป็นผล รถตำรวจถูกกระสุนจากโจรมลายู แต่ตำรวจกลับไม่ได้รับบาดเจ็บสักคน และโจรมลายูกลุ่มดังกล่าวก็อันตรธานหายไปในความมืด หากเป็นในสถานการณ์ปกติ ขั้วอำนาจเดิมอยู่ในอำนาจตลอดมา เรื่องดังกล่าวคงค่อยๆ เงียบหายไป เหมือนกับคดีลอบสังหาร หรือเรื่องอัปลักษณ์ดำมืดเรื่องอื่นในสังคมไทย แต่สุดท้าย เมื่อฝ่ายอำนาจเกิด ‘พลิกขั้ว’ ขึ้นมา ในที่สุด คดีลอบสังหาร 4 รัฐมนตรีจึงฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง และกลายเป็นเรื่องสยดสยองที่สุด เป็นรอยด่างของการเมืองไทยยุคเอากันถึงตาย และถึงที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะผ่านมากี่ทศวรรษ ‘ตำรวจไทย’ ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

  • Ways of Being Wild EP12: Euthanasia: Right to Die - ‘การุณยฆาต’ สิทธิในการ ‘ตาย’ อันพึงประสงค์

    30/10/2022 Duration: 29min

    “ถ้าชีวิตนี้มีสิทธิ์เลือกวันตายหรือวิธีตายเป็นของตัวเองจะเป็นไปได้จริงหรือเปล่า” คำตอบคือเป็นไปได้ หลายประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกายินดีให้ความสำคัญกับการออกกฏหมาย ‘การุณยฆาต’ (Euthanasia) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 90s เพื่อรองรับความต้องการของบุคคลที่ต้องเจ็บป่วยและทรมานด้วยโรคร้ายเรื้อรัง ที่ทำได้แค่เพียงใช้ยาระงับอาการไปวันๆ ต้องอยู่ในสภาพช่วยเหลือตนเองลำบาก หรือนอนติดเตียงโคม่าเป็นระยะเวลายาวนาน เมื่อนั้นผู้ป่วยหรือญาติใกล้ชิดจึงจะมีสิทธิ์ยื่นคำร้องให้แพทย์ผู้เชียวชาญทำการการุณยฆาตให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทางกายอย่างสมศักศรีดิ์ ยกตัวอย่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่ในปี 2020 มีการเปิดสถิติออกมาว่า มีผู้เข้ารับการการุณยฆาตมากถึง 1,300 ราย ทั้งที่เป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์เองและเป็นชาวต่างชาติที่ขออนุญาตเดินทางเข้ามา ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศเดียว ณ เวลานี้ ที่ออกกฏหมายให้ชาวต่างชาติมีสิทธิเข้ารับการจบชีวิตตนเอง เมื่อไม่นานมานี้เอง ฌอง-ลุค โกดาร์ (Jean-Luc Godard) ผู้กำกับและมือเขียนบทระดับปรมาจารย์ชาวฝรั่งเศส ก็เป็นผู้มีชื่อเสียงอีกหนึ่งคนที่ได้ตัดสินใจเข้ารับการการุณยฆาต เพื่อหลีกหนีจากความเจ็บป่วยยามชราภาพในวัย 9

  • b-holder EP18: ‘ตากใบ’ โศกนาฏกรรม และประวัติศาสตร์อันดำมืด

    23/10/2022 Duration: 30min

    หากนับโศกนาฏกรรมเดือนตุลาคม ก็ควรต้องบรรจุเหตุการณ์ ‘ตากใบ’ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เข้าไปด้วย เหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นในช่วงประชาธิปไตยเต็มใบ หลังสลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เจ้าหน้าที่ทหารได้รับคำสั่งให้จับผู้ชุมนุมขึ้นรถทหารด้วยเสียงสั้นๆ ว่า ‘ขนไปให้หมด’ คำสั่งนั้นทำให้ผู้ถูกจับกุมถูกมัดมือมัดเท้าอยู่หลังรถบรรทุกซ้อนกัน 4-5 ชั้น ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุยาวนานหลายชั่วโมง และจบลงที่การเสียชีวิตด้วยอาการขาดอากาศหายใจของผู้ที่ถูกจับกุมกว่า 78 คน อย่างที่ไม่ควรจะเป็น แต่ในเวลานั้น กระแสสังคมและเจ้าหน้าที่รัฐได้รับ ‘ใบสั่ง’ ให้จัดการเรื่องดังกล่าวได้ ภายใต้วิธีการแบบนี้ ในเวลาเดียวกับที่สังคมมองคนกลุ่มนี้ด้วยภาพสะท้อนว่าเป็น ‘โจรใต้’ สุดท้าย แม้ทั้งนายกรัฐมนตรีอย่าง ทักษิณ ชินวัตร และผู้บัญชาการทหารบกอย่าง พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ จะออกมายอมรับว่ามีความผิดพลาดจนทำให้เกิดการล้มตายที่มากขนาดนั้น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีผู้ใดที่ต้องรับผิด เป็นการ ‘ลอยนวลพ้นผิด’ ครั้งใหญ่อีกครั้งในเดือนตุลาคม b-holder ชวนย้อนเวลากลับไปเมื่

  • Ways of Being Wild EP11: เมื่อวัฒนธรรม ‘ตื่นรู้’ แทรกซึมอยู่ในทุกอิริยาบทของสังคม

    16/10/2022 Duration: 30min

    ใครที่เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียบ่อยๆ คงเคยผ่านตากับคำว่า ‘Woke’ ที่เป็นคำกริยาช่องสองที่ผันมาจาก ‘Wake’ ซึ่งมีความหมายว่า ‘ตื่น’ แต่คำดังกล่าวกลับถูกนำมาล้อเลียนเสียดสีจนกลายเป็นชนวน คำว่า Woke ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกโซเชียลเมื่อปี 2020 ในความหมายเปรียบเปรยเสมือนผู้ที่ ‘ตื่นรู้’ ทั้งในเรื่องของความเท่าเทียมระหว่างสีผิว ความเท่าเทียมทางเพศ ไปจนถึงเรื่องของประเด็นสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างในกรณีของ จอร์จ ฟลอยด์ (George Floyd) ชายผิวดำชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน ที่ถูกตำรวจเมืองมินนิแอโพลิส (Minneapolis) ใช้กำลังจับกุมเกินกว่าเหตุจนเสียชีวิต ทำให้ประเด็นการเรียกร้องความเท่าเทียมทางสีผิวถูกปลุกให้เห็นค่าความสำคัญขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ไม่นานมานี้ วงการบันเทิงต่างประเทศกลับมีกระแสตีกลับถึงวัฒนธรรมตื่นรู้ หลังภาพยนตร์ ‘เงือกน้อยผจญภัย’ (The Little Mermaid) ฉบับคนแสดง ปล่อยตัวอย่างที่เนื้อหาได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของ ‘แอเรียล’ (Ariel) นางเงือกผู้เป็นตัวเอกของเรื่องจากผิวขาวเป็นผิวสี ผิดไปจากแอนิเมชันปี 1989 และนิยาย กลายเป็นประเด็นถากถางถึงผู้สร้างว่าเอาใจเทรนด์ Woke เกินเหตุ และมองข้ามถึงความสามารถตัวนักแสดงไป Wa

  • b-holder EP17: 14 ตุลาฯ ประวัติศาสตร์จากปากคำ ‘ผู้แพ้’

    13/10/2022 Duration: 30min

    หากว่ากันตามประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จบลงด้วยชัยชนะของประชาชนในการขับไล่รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ออกไปได้ ผ่านการต่อสู้ของขบวนการนักศึกษา เป็นการปิดฉากระบอบเผด็จการอันยืนยาว แต่ในอีกด้านหนึ่ง เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก็ยังมีเรื่อง ‘ลึกลับ’ อีกมาก เพราะการที่ประชาชนจะล้ม ‘อำนาจรัฐ’ ได้นั้น ย่อมมี ‘มือที่มองไม่เห็น’ อื่นๆ เข้ามาช่วยในการล้ม แน่นอนว่ามือที่มองไม่เห็นนี้ เป็นตัวแสดงผ่านนายทหารในกองทัพอีกขั้วที่ต้องการล้มระบอบ 3 ทรราช จอมพลถนอม จอมพล ประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค์ กิตติขจร แล้วถ้าลองฟังประวัติศาสตร์จาก ‘ผู้แพ้’ อย่างฝั่งจอมพลถนอม เรื่องของ 14 ตุลาฯ จะเป็นอย่างไร? เพราะเหตุใดบรรดานายทหารที่หยั่งรากลึก สืบทอดอำนาจกันมาต่อเนื่อง จึงได้แพ้ง่ายๆ แล้วภายใต้เหตุการณ์ชุลมุน ตั้งแต่หน้าสวนจิตรลดาช่วงเช้าวันที่ 14 ตุลาฯ จนถึงพระราชดำรัส ‘วันมหาวิปโยค’ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ช่วงค่ำ ในมุมมองของ ‘ผู้แพ้’ นั้นเกิดเรื่องอะไรขึ้น แล้วมี ‘ตัวละคร’ ใดอยู่หลังฉากบ้าง

  • b-holder EP16: จากหนองงูเห่าสู่ ‘สุวรรณภูมิ’ ความหวัง ‘ฮับการบิน’ เอเชีย สู่สนามบินที่ย่ำอยู่กับที่

    25/09/2022 Duration: 32min

    28 กันยายน 2549 สนามบินสุวรรณภูมิเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ในฐานะ ‘หน้าตา’ ของประเทศ ด้วยความคาดหวังว่าจะเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ทัดเทียมกับสนามบินชางงีของสิงคโปร์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนไทยต้องรอนานเกิน 40 ปีกว่าสนามบิน ‘หนองงูเห่า’ แห่งนี้จะสร้างเสร็จ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการวาดฝันของ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ออกแรงอย่างหนักเพื่อให้สนามบินแห่งนี้เสร็จทันสมัยที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรี และจะดันคะแนนเสียงของพรรคไทยรักไทยให้พุ่งทะยาน แต่สุดท้าย เมื่อเกิดการรัฐประหาร ผู้นำทหารประกาศว่าสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่า ‘หลุมฝังศพ’ ของระบอบทักษิณ และประกาศจะรื้อทุกการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในสนามบินสุวรรณภูมิ กระนั้นเอง ผ่านมา 16 ปี ก็ยังคงตรวจไม่พบการทุจริต และในอีกแง่หนึ่ง การพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า อันดับสนามบินที่ดีที่สุดในโลกตกจากท็อป 20 ณ ปี 2552 ลงมาอยู่ที่อันดับ 77 ในปีนี้ บางทีสนามบินสุวรรณภูมิอาจเป็นภาพจำลองของประเทศไทย ที่ครั้งหนึ่งเคยมีความฝันอันใหญ่โต แต่สุดท้ายก็หยุดชะงักหลังการรัฐประหาร และยังจมอยู่ใน ‘หลุม’ แห่งนั้น จวบจบวันนี้ b-holder Podcast ชวนย้อนกลับไปฟังตำนานการก่อสร้างสนามบิ

  • Ways of Being Wild EP10: The Economy Downfall หลากชาติกับเศรษฐกิจที่ล่มสลาย

    19/09/2022 Duration: 24min

    เพื่อคลายความสงสัยว่าปัจจัยใดทำให้หลายประเทศต้องตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ และประเทศไทยจะมีสิทธิ์เกิดสถานการณ์รูปแบบคล้ายกันเหมือนวิกฤตต้มยํากุ้ง ปี 2540 หรือไม่ Way of Being Wilds EP นี้ ชวนมาร่วมไขคำตอบ

  • b-holder EP15: เวียดนามแซงไทย เมื่อสยามกำลังติดหล่ม และเวียดนามกำลัง ‘เนื้อหอม’

    11/09/2022 Duration: 29min

    ร่วมกันหาคำตอบว่าเพราะเหตุใดประเทศคอมมิวนิสต์แห่งนี้ ถึงได้มีศักยภาพมากพอที่จะเป็น ‘คู่เทียบ’ กับบ้านเรา ขณะเดียวกัน มีเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ไทยยังคงย่ำอยู่กับที่

  • Ways of Being Wild EP9: Attack on Salman ซัลมัน รัชดี กับกรณีศึกษาของนักสื่อสารมวลชนที่ถูกคุกคาม

    04/09/2022 Duration: 34min

    ย้อนกลับไปวันที่ 13 สิงหาคม 2565 เกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญ หลังนักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดีย ‘ซัลมัน รัชดี’ (Salman Rushdie) ถูกชายนิรนามคนหนึ่งจู่โจมทำร้ายอย่างอุกอาจด้วยการชกต่อย พร้อมใช้มีดปลายแหลมแทงบริเวณท้องและลำคอ ขณะกำลังขึ้นเวทีบรรยายในงานวิชาการของสถาบันเชาทากัว รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ต่อหน้าผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,500 ราย ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐนิวยอร์กจะเข้าจับกุมผู้ก่อเหตุทันควัน นับเป็นโชคดีของซัลมันที่รอดพ้นจากความตาย แต่จากการถูกทำร้ายก็อาจส่งผลให้เขากลายสถานะเป็นผู้พิการ หลังแพทย์วินิจฉัยว่าดวงตาของเขาเสียหายอย่างหนัก เส้นประสาทที่แขนข้างหนึ่งถูกตัดขาด ตับถูกแทงจนเสียหายอย่างหนัก ยังไม่นับรวมบาดแผลทางจิตใจหลังหายเป็นปกติ เวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐนิวยอร์กเปิดเผยว่าผู้ที่ทำร้ายซัลมันคือ ฮาดี มาร์ทา อายุ 24 ปี จากเมืองแฟร์วิลล์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ที่แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยถึงแรงจูงใจ แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าชนวนเหตุแห่งความอาฆาตคงหนีไม่พ้นงานเขียนของซัลมันที่มีชื่อว่า ‘โองการปีศาจ’ (The Satanic Verses) นวนิยายเรื่องดังในปี 1988 ที่ถูกมองว่ามีเจตนาดูหมิ่นศาสนาและศาสดาของชาวมุสลิม ซึ่งรุน

  • b-holder EP14: กบฏ 9 กันยาฯ ล้ม ‘ป๋าเปรม’ คาราบาว เจ้าพ่อแชร์ และความล้มเหลว

    28/08/2022 Duration: 29min

    b-holder พาย้อนกลับไปฟังเรื่องราวของกบฏ 9 กันยาฯ 2528 เพื่อฟังความพิเศษของการก่อการรัฐประหารครั้งนี้ว่าเกิดความผิดพลาดในจุดใด ทำไมจึงคว้าน้ำเหลว และร่วมกันหาคำตอบว่ามีตัวละครใดที่นัดไว้ แต่กลับเปลี่ยนใจในนาทีสุดท้าย จนทำให้ผู้ก่อการทั้งหมดต้องหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง

  • Ways of Being Wild EP8: Choco Pie Propaganda War สงครามพายช็อกโกแลต ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้

    21/08/2022 Duration: 32min

    ชวนฟังเรื่องราวที่ถูกเรียกขานว่า ‘วิกฤตช็อกโกพาย’ ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ พร้อมไขสาเหตุที่ทำให้ขนมสุดแสนจะธรรมดา กลายเป็นชนวนเหตุแห่งความบาดหมางระหว่างสองประเทศได้ถึงเพียงนี้

  • b-holder EP13: จากขวาตกขอบ สู่ นายกฯ ฝ่ายประชาธิปไตย เส้นทางสุดขั้วของ สมัคร สุนทรเวช

    15/08/2022 Duration: 38min

    ชวนย้อนเส้นทางชีวิตทางการเมืองของ นายกฯ สมัคร ผู้ที่มีชีวิตผาดโผนที่สุด และสำรวจว่ามีอะไรเบื้องหลังการตัดสินใจของสมัครในแต่ละครั้งที่เขาตัดสินใจรับตำแหน่งสำคัญบ้าง แล้วเพราะเหตุใด จากคน ‘ขวา’ สุดขอบ จึงถูกจัดการอย่างเด็ดขาดในช่วงปีท้ายๆ ของชึวิตทางการเมือง

  • Ways of Being Wild EP7: The Fairy Tail Of Corgi ตำนานสุดแฟนตาซีของสุนัขพันธุ์คอร์กี้

    08/08/2022 Duration: 26min

    Ways of Being Wild EP7 พาคุณผู้ไปทำความรู้จักกับตำนานสุดแฟนตาซีของสุนัขพันธุ์คอร์กี้ พร้อมด้วยประวัติความเป็นมา ความสัมพันธ์อันน่าประทับใจต่อควีนเอลิซาเบธที่ 2 และสัมผัสความคลั่งไคล้ในฐานะ Corgi Lover ของ ‘ปั๊บ’ - พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์ ผู้ดำเนินรายการ

  • b-holder EP12: อุทยานราชภักดิ์ ตำนานการทุจริต และความดำมืดของกองทัพบก

    01/08/2022 Duration: 29min

    b-holder ชวนย้อนดู ‘ตำนาน’ ของการก่อสร้าง และบรรดาเรื่องราวไม่ชอบมาพากลในโครงการใหญ่ของกองทัพบก และร่วมกันพยายามแกะรอยว่าทำไมเรื่องนี้ถึงเอาผิดใครไม่ได้สักคน

page 2 from 12